CLASS A วงจรขยายชนิด CLASS A นั้น ออกแบบให้ทรานซิสเตอร์ทุกตัวทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้า นิยมใช้ในวงจรขยายความเพี้ยนต่ำที่ต้องการคุณภาพเสียงจริงๆ แอมป์ที่มีกำลังขับ 100 วัตต์ อาจต้องการกระแสไฟภายในเกือบ 100 วัตต์ แม้ว่าไม่มีสัญญาณเข้ามาก็ตาม จึงทำให้แอมป์คลาสนี้มีความร้อนสูง จึงต้องออกแบบให้มีการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพ
CLASS B วงจรขยายชนิดคลาส B วงจรทรานซิสเตอร์จะทำงานเพียงครึ่งเดียว ทำให้มีความเพี้ยนสูง ปัจจุบันหายากแล้ว
CLASS AB การทำงานคล้ายกับคลาส A คือ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณระดับต่ำให้แรงขึ้น ก่อนที่จะส่งไปยังภาคขยายคลาส B เป็น การนำเอาข้อดีของวงจรแต่ละชนิดมาประยุกต์การทำงาน เมื่อเทียบกับการสูญเสียในเรื่องประสิทธิภาพ(ความร้อน) ที่มีอยู ่บ้าง แต่กำลังขับยังสูงกว่า CLASS A หลายเท่า เป็นที่นิยมมากในวงการมีเป็นสิบๆยี่ห้อแอมป์
CLASS D เป็น การออกแบบให้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการขยาย ซึ่งแทนที่จะเสียกำลังไปในเรื่องของความร้อน เนื่องจากไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เพราะความถี่สูงจะถูกตัดออกไปในช่วงระหว่างภาคจ่ายไฟบวก และลบ ทำให้อุปกรณ์ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา ความร้อนจึงต่ำ ในด้านประสิทธิภาพนั้นจึงสูงกว่า CLASS AB หลายเท่า แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการตอบสนองความถี่เสียง ซึ่งเหมาะใช้งานกับซับวูเฟอร์ แต่ไม่เหมาะที่จะนำไปขับลำโพงกลางแหลม
CLASS T แอมป์คลาสนี้มีการออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (tripath) ทำให้วงจรทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง(20-20,000 hz) ทำให้แอมป์คลาส T สามารถใช้งานได้ทั้งซับวูฟเฟอร์ และกลางแหลม แอมป์คลาส T ให้ประสิทธิภาพสูงกว่า คลาส AB
CLASS G เป็นการออกแบบให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้นมาอีกขั้น โดยลดการสูญเสียแรงดันของทรานซิสเตอร์ พื้นฐานใกล้เคีบงกับคลาส AB และมีประสิทธิภาพเท่าคลาส D หรือ T แต่การออกแบบวงจรจะมีความสลับซับซ้อนกว่ามาก
CLASS H มีความคล้ายคลึงกับคลาส G ยกเว้นจุด สัญญาณไม่เกิดการคลิพ ที่ไม่มีการเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณขาเข้า วงจรที่ใช้คล้ายกับคลาส D และทำงานเหมือนกับแอมป์คลาส AB
เครดิต cnsound