ต่อไปเราจะลองปรับโหมดการวัดจาก Spectrum หรือ RTA ที่เราคุ้นเคย ไปที่โหมด Transfer กันดูบ้าง ซึ่งในโหมดนี้กราฟที่แสดงผลจะเป็นกราฟเส้นในแนวนอน แทนที่กราฟแท่งของโหมด RTA
ใ้ห้ทำการคลิกที่ปุ่มฟังก์ชั่น Transfer โปรแกรมจะแสดงผลดังรูป
จากรูปจะเห็นได้ว่ากราฟเส้นสีเหลือง แสดงผลเป็นเส้นตรงอยู่ที่ 0dB ทั้งนี้เป็นเพราะว่าสัญญาณที่ทดสอบ (Meas. sig) กับ สัญญาณอ้างอิง (Ref. sig) เป็นสัญญาณเดียวกัน และความแรงเท่ากันนั่นเอง
หากเป็นการวัดสัญญาณทดสอบจริง ๆ อาิทิเช่นสัญญาณที่วัดจากตู้ลำโพงผ่าน RTA Mic กราฟเส้นสีเหลืองจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสัญญาณทั้งสองสัญญาณ เหมือนที่เห็นในคลิปที่ผมทดสอบวัดให้ดูก่อนหน้านี้ ทั้งนี้สัญญาณทั้งสองสัญญาณจะต้องถูกโปรแกรมชดเชยคาบเวลาที่แตกต่างกันด้วยฟังก์ชั่น Auto Sm ซะก่อน
ที่หน้าโปรแกรมให้ทำการคลิกปุ่มฟังก์ชั่น Auto Sm (Auto Delay Small) โปรแกรมจะทำการคำนวณคาบเวลาของสัญญาณทั้งสอง และโชว์ค่าความแตกต่างของคาบเวลาให้เห็นดังรูป
จากรูปจะเห็นได้ว่าค่าความแตกต่างของคาบเวลา (Delay) ของทั้งสองสัญญาณเป็น 0 ทั้งนี้เป็นเพราะสัญญาณที่เรากำลังทดสอบ (Meas. sig) เป็นสัญญาณเดียวกันกับสัญญาณอ้างอิง (Ref. sig) นั่นเองจึงไม่เกิดความแตกต่างของคาบเวลาเกิดขึ้น ให้ทำการคลิกปุ่ม Insert Delay โปรแกรมจะทำการชดเชยคาบเวลาให้ แล้วแสดงผลอีกครั้งดังรูป
มาถึงตรงนี้โปรแกรม Sia Smaartlive ที่ท่านมีอยู่ก็พร้อมที่จะทำการวัดค่าความถี่ตอบสนองหน้าตู้ลำโพงได้แล้วครับ ผมจะยังไม่ไปต่อเพื่อให้สมาชิกได้มีเวลาเตรียมอุปกรณ์และทดลองปฎิบัติตามลำดับขั้นที่นำเสนอมาทั้งหมดก่อน หากท่านใดติดปัญหาประการใดก็สอบถามเข้ามานะครับ