กรณีเล่นในหอประชุม ระหว่างการกำหนดความชันของ L M H
กับ การหน่วงเวลา วิธีใดให้ผลลัพธ์ดีกว่ากันครับ
ปล. ใช้ Xilica XP-4080 ครับ
การกำหนดค่าความลาดชันของฟิลเตอร์ กับการทำ Time Alignment นั้นไม่เกี่ยวข้องกันเลยครับ
และไม่สามารถทดแทนกันได้
คงต้องทำความเข้าใจในเรื่อง Time Alignment ก่อนครับ
สิ่งที่จะพูดคุยกันต่อไปนี้ เป็นเรื่อง การทำ Time Alignment ให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่านในระบบเสียง ซึ่งเป็น
ข้อแตกต่างระหว่างครอสอนาล็อก กับครอสดิจิตอล โดยที่ครอสอนาล็อกไม่สามารถทำได้ครับ
สำหรับท่านที่ใช้ครอสดิจิตอลอยู่ เท่าที่ผมเคยไปเห็นมา หลาย ๆ ท่านยังไม่เคยทำ Time Alignment ให้กับ
ตู้ลำโพงระหว่างย่านเสียงต่ำ กับเสียงกลาง - แหลม กันเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก เพราะ
หากท่านได้ทำ Time Alignment ให้กับตู้ในระบบของท่านได้ถูกต้องแล้ว จะทำให้คุณภาพของเสียงในระบบ
ของท่านดีขึ้นอย่างที่ท่านแทบจะไม่เชื่อหูกันเลยทีเดียว
อะไรคือการทำ Time Alignment ให้กับตู้ลำโพงในระบบ ?
คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยิน หรือ รับฟังมากันบ้างว่า เสียงต่ำ เดินทางช้ากว่า เสียงกลาง และ แหลม
ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นแบบฟันธงกันเลยทีเดียวว่า เสียงทุกย่านเดินทางด้วยความเร็วเท่ากันครับอ้าว... ถ้างั้นแล้วทำไมเสียงในระบบของตู้ย่านต่าง ๆ ถึงเดินทางมาถึงหูของคนฟังไม่พร้อมกันหล่ะ เหตุผล
หลัก ๆ มีอยู่ 3 ประการดังนี้
1. การทำงานของตัวตู้ในแต่ละแบบ จะเกิดการหน่วงเวลาของเสียงไม่เท่ากัน
2. ตำแหน่งของดอกลำโพง หรือ ตัวตู้ ซึ่งมักจะติดตั้ง หรือวางอยู่ไม่เป็นระนาบเดียวกัน
3. ค่าหน่วงเวลาในวงจรฟิลเตอร์ของครอสที่เราใช้กำหนดจุดแบ่งความถี่ โดยที่ฟิลเตอร์แต่ละย่าน จะมีค่า
หน่วงเวลาไม่เท่ากัน
ซึ่งใน 3 เหตุผลข้างต้น สิ่งที่ทำให้เกิดการหน่วงเวลาของเสียงในแต่ละย่านมากที่สุดคือ ข้อ 3 ครับ
ทีนี้ก็มาถึงประเด็นว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตู้แต่ละย่าน จะต้องทำการปรับตั้งค่า Delay Time เท่าไหร่เพื่อ
ให้เสียงเดินทางมาถึงหูของผู้ฟังพร้อมกัน
ถ้าท่านมีโปรแกรม Smaartlive , RTA Mic. ตลอดจนสามารถใช้งานโปรแกรมเป็น ก็จะสามารถวัดเองได้ไม่
ยากเย็นแต่ประการใด แต่หากไม่มีหรือมีแต่ใช้ไม่เป็นหล่ะ จะทำเช่นไรดี?
จากประสบการณ์ของผม (อีกแหละ) ที่ทำการวัดค่า Delay Time ของตู้ลำโพงย่านต่าง ๆ (โดยที่ตัดความถี่
ผ่านครอสมาแล้ว) พอจะให้ไกด์ไลน์คร่าว ๆ ได้ประมาณนี้ครับ (ตู้ทุกตัวอยู่ในตำแหน่งระนาบเดียวกัน)
ตู้ย่านเสียงต่ำ (Low) จะมีค่าหน่วงเวลามากที่สุด (หลังจากผ่านการแบ่งย่านความถี่จากครอสมาแล้ว)
ตู้ย่านเสียงกลาง (Mid) จะมีค่าหน่วงเวลาน้อยกว่าตู้เสียงต่ำอยู่โดยประมาณ 5ms ~ 10ms
ตู้ย่านเสียงสูง (High) จะมีค่าหน่วงเวลาน้อยกว่าตู้เสียงกลางอยู่เพียงเล็กน้องประมาณ 0.5ms ~ 1ms
นั่นก็คือทั้ง ๆ ที่เราวางตู้ไว้ในระนาบเดียวกันแล้วก็จริง แต่เมื่อเปิดฟังเสียง เราจะได้ยินเสียงแหลมมาก่อน
ตามด้วยเสียงกลาง และ เสียงต่ำ เสมือนว่าเราวางตู้ลำโพงไว้ตามภาพ
ซึ่งจากปรากฎการณ์ข้างต้น ทำให้เสียงที่ได้จากระบบของเราก่อนทำ Time Alignment ขาดมิติ และพลัง
ในการเสริมกันของเสียงแต่ละย่าน ถ้าจะเปรียบก็เสมือนท่านนำเอาข้าวเหนียวปั้นเล็ก ๆ สามปั้นมาปาใส่
หัวเพื่อน ทีละปั้น
แต่หากว่าเราทำ Time Alignment ให้กับระบบของเราได้ถูกต้อง ก็เปรียบเสมือนท่านเอาข้าวเหนียวทั้ง
สามปั้นมาปั้นรวมกันเป็นปั้นเดียวแล้วปาใส่หัวเพื่อน ท่านคิดว่าแบบไหนเพื่อนจะเจ็บกว่ากันครับ
ผมมี Tip แบบบ้าน ๆ แนะนำถึงวิธีการตั้งค่า Delay Time ให้กับตู้ กลาง-แหลม กับ ตู้ซับ
โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม Smaartlive แต่อย่างใด ท่านลองเอาไปใช้กันดูครับ โดยที่สามารถ
ลองได้จากหน้างานจริงเลยครับ ไม่ต้องยกตู้มาลองเดี๋ยวเอวจะเสีย แม่บ้านจะบ่น 5555
ก่อนอื่นให้ลองฟังเสียงจากระบบเดิมของท่านที่ยังไม่ได้ตั้งค่า Delay Time ว่าเสียงคิกของกระเดื่อง
ในจังหวะเดียวกับที่นักดนตรีตีไฮแอทนั้น ในระบบเดิมนั้นเป็นเช่นไร?
ต่อจากนั้นให้ลองปรับค่า Delay Time ของ Output ย่านกลาง-แหลมขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละ 1ms
แล้วลองฟังดูเปรียบเทียบถึงความแตกต่าง (โดยทั่วไปจะค่า Delay Time ที่ทำให้กับตู้กลาง-แหลม
มักจะไม่เกิน 10ms)
ถ้าค่า Delay Time ที่เราตั้งให้กับตู้กลาง-แหลม มันตรงกับค่า Delay ที่เกิดขึ้นจากระบบของ
เราเป๊ะ ท่านจะได้ยินเสียงคิกของกระเดื่อง กับเสียงไม้กระทบไฮแอท ในจังหวะเดียวกัน
และประสานกันอย่างลงตัว ซึ่งที่ถูกต้องก็ควรจะเป็นเช่นนั้น
เมื่อท่านสามารถตั้งค่า Delay Time ได้ตรงตามจริง เสียงโดยรวมทั้งระบบจะเกิดพลังขึ้น
อีกอย่างน้อย 30% เลยทีเดียวครับ