ขอบคุณเฮียมากเลยครับ
สรุปว่า คลื่นเสียง ความถี่ต่างๆ เดินทางเร็วเท่ากัน
แต่ที่มันช้า มันช้าในวงจร filter ใช่มั้ยครับ
ขอเสริมครับ
เดินทางเร็วเท่ากัน ถูกต้องครับ ถ้าเราวัดด้วย mode 0 degree ซึ่งหมายความว่าวัดตำแหน่งในรูปคลื่นที่ระดับ 0 dB ของกราฟตามแนวแกน y
จากภาพ กราฟ บน เป็นกราฟแสดงย่านความถี่สูง ส่วนกราฟล่างเป็นกราฟแสดงย่านความถี่ต่ำ
กำหนดให้ แหล่งกำเนิดเสียงปล่อยสัญญาณออกพร้อมกัน ในหน่วยเวลาเดียวกัน คลื่นเสียงเดินทางได้ระยะเท่ากัน นั้นหมายถึงความเร็วของเสียงเท่ากันนั้นเอง
แต่หากเราพิจารณาตามลักษณะของคลื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการเสริมกันของคลื่น แล้วเสริมกันอย่างไร
จากภาพซายมือสุดของแหล่งกำเนิดเสียง 2 แหล่งที่มีความถี่เดียวกัน ปล่อยออกมาพร้อมกัน ลักษณะคลื่นแบบเดียวกัน เกิดการเสริมกัน ผล เป็นกราฟล่างสุด แอมปริจูดเพิ่มขึ้น ในทำนองกลับกันภาพที่สอง การปล่อยสัญญาณคลื่นเดียวกันแต่ระดับ Degree ต่างกัน รูปคลื่นต่างกันแบบตรงข้าม ผลกราฟล่าง หักล้างกัน
คลื่นเดียวกันแต่หน่วงการปล่อย(Delay) รูปคลื่นต่างกัน เกิด phase out กลายเป็นว่าหักล้างกัน ความดังก็ลดลงซิ..
การวัดความเร็วของคลื่นเพื่อการเสริมกันของคลื่นเมื่อระยะเวลาที่คลื่นมีค่าแอมปริจูตสูงขึ้น(+ dB) จาการเฟสซิฟ (phase shift)
เมื่อกลับพิจารณาภาพกราฟบนสุด ที่ระดับ 90 degree จะพบว่าท้องคลื่นของกราฟความถี่สูง
จะถึงเส้นชัยก่อน... ก่อนที่ท้องคลื่นสูงสุดของกราฟความถี่ต่ำจะถึง
ท้องคลื่นสูงทั้ง 2 ความถี่ตรงกันกลายเป็นเฟสซิฟตามความประสงค์ มันจะดังขึ้น
การดังขึ้นไม่ได้หมายความว่าดังดี แต่ดังแรงขึ้น บางช่วงก็ดังเบาเฟสเอ้าก็เป็นได้...
ขึ้นอยู่กับแบบทางกายภาพของตู้ลำโพง มีการหน่วงมวลอากาศตั้งแต่ภายในตู้้แล้ว
ความเร็วของเสียงไม่ได้เกิดจากลม.... แต่เกิดจากจังหวะการอัด ขยายของมวลอากาศ ความถี่ต่ำใช้ช่วง(ปริมาตร)มวลอากาศมาก มันจึงใช้เวลามากกว่าในการบีบอัดอากาศ ในทิศทางตามยาว จึงเรียกคลื่นเสียงเป็นคลื่นประเภทตามยาวครับ
สรุป เสียงความถี่ต่ำช้ากว่าเพราะลักษณะการเกิดตามกายภาพของคลื่นตัวมันเองมากกว่า(ที่ไม่ใช่ Mode 0 degree)