อำนาจของนิสัย (The Power of Habit)อ่านหนังสือเรื่อง The Power of Habit (เดอะ พาวเวอร์ อ๊อฟ แฮ๊บบิท - อำนาจของนิสัย) แล้วดี ได้ความรู้ มากๆ เป็นหนังสือด้านบริหารที่บอกเลยว่าในรอบสิบปี ดีที่สุดเล่มหนึ่ง ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำความรู้ที่ได้จากหนังสือเรื่องนี้ ไปปรับปรุงการพัฒนาองค์กรของผมในหลายประเด็น ในตอนหนึ่ง (บทที่ 7) ได้พูดถึงปัญหาระหว่างสงครามโลกของประเทศสหรัฐ คือ การต้องให้การสนับสนุนด้านอาหารกับอังกฤษและประเทศในยุโรป ที่ทั้งสองฝั่งทานเหมือนกันคือ เนื้อ
Cr:
http://lts.brandeis.edu/research/archives-speccoll/exhibits/wwi-wwiiposters/WWI_1918-2.htmlปัญหาในยุคนั้นคือ..ฝรั่งทานเนื้อเฉพาะส่วนที่เราเรียกว่าเป็นสเต๊ก เช่นเนื้อริ๊บอาย ครับ ไม่ทานเครื่องใน เช่นตับ ดังนั้นอเมริกาก็เริ่มขาดแคลนเนื้อสเต๊ก ปัญหานั้นรุนแรงขึ้นจนกระทั่งประธาธิบดียุคนั้นบอกว่า เนื้อนี่มีความสำคัญต่อประเทศ ในยามสงครามพอๆกับอาวุธเลย ดังนั้นโจทย์ใหญ่ของอเมริกายุคนั้นคือ ทำอย่างไรจะเปลี่ยนพฤติกรรมของคนอเมริกัน ให้หันมาทานเครื่องใน เช่นตับ และเครื่องในต่างๆบ้าง เพราะเป็นสิ่งที่เหลือทิ้งขว้างกัน ไม่อย่างนั้นผลิตสเต๊กอย่างไรก็ไม่วันเพียงพอ
ข้อมูลบอกว่าแม่บ้านชนชั้นกลางของอเมริกา ยอมที่จะอด หากเห็นอาหารที่มีส่วนผสมของลิ้นวัววางบนโต๊ะอาหาร เรียกว่าว่าถ้าให้กินซุ๊ปหางวัว นี่ยอมตายดีกว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐจึงเชิญนักวิชาการชื่อดังที่รวมถึงเคิร์ท เลวิน (ผู้นี้เป็นบิดาของวิชาการพัฒนาองค์กร หรือ OD) มาขอคำปรึกษาว่า ทำอย่าางไรจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนให้มาทานเครื่องในได้ นักวิชาการยุคนั้นได้สังเคราะห์งานวิจัยกว่า 200 ชิ้น พบคำตอบเหมือนๆกันคือ จะเปลี่ยนพฤติกรรมการกินได้ คุณต้องทำให้มันคล้ายๆ ของเดิมที่ทานอยู่ คือเป็นอะไรที่คนคุ้นเคยอยู่แล้ว
แล้วแม่บ้านเองก็เริ่มได้รับจดหมายจากกองทัพที่บอกว่า สามีของทุกท่านจะชื่นชมอาหาร ที่มีทั้งเสต๊กและพายไตวัว (แปลมาตรงตัวครับ) ส่วนร้านขายเนื้อก็เริ่มแจกวิธีการที่จะเอาตับแทรกเข้าไปในเนื้อได้อย่างไร จึงจะทำอาหารได้อร่อย ระหว่างสงคราม เมื่อโครงการนี้จบลงการผสมผสานเมนูเครื่องในเข้าไปในชีวิตประจำวันของคนอเมริกัน ก็มีพัฒนาการขึ้นอย่างมาก ระหว่างสงครามอัตราการทานเครื่องในของคนอเมริกันสูงขึ้น 30 % หลังสงคราม 5 ปี อัตรานี้เพิ่มขึ้นเป็น 50%
มีการนำโครงการนี้ไปใช้ในกองทัพ เพราะ ผัก ก็ขาดแคลนเช่นกัน เลยมีความพยายามจะใส่กะหล่ำปลีไปในเมนู ใส่ไปซื่อๆ ได้ผลครับ ทหารไม่ยอมแตะเลย ... ตอนหลังเลยเอาไปสับให้ละเอียดแล้วต้มเอาไปวางบนจาน ซึ่งทำใหมันดูคล้ายอาหารเดิมๆ ที่ทหารทานอยู่แล้ว ที่สุดก็สำเร็จครับ
นี่ถือเป็นการรณรงค์การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทางอาหารที่ได้ผลที่สุด หลังจากนั้นอเมริกาก็พยายามเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค อีกเช่นโครงการห้าครั้งต่อวัน คือการส่งเสริมให้คนอเมริกันทานผักหรือผลไม้ห้าชนิดต่อวัน ... ต่อมามีโครงการรณรงค์ให้ดื่มนม แต่ที่สุดโครงการทั้งหลายก็ล้มเหลว เพราะทุกคนลืมการค้นพบครั้งสงครามโลกไป ..โครงการระยะหลังไม่พยายามที่จะดัดแปลง สิ่งใหม่ๆ ที่แม้ดี ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้บริโภคคุ้นเคย.. จนโครงการดีๆ ความคิดดีๆ ล้มเหลวอย่างต่อเนื่องตลอดมา
Cr:
http://www.swide.com/luxury-magazine/Life/Food/Super-Bowl-Sunday--Kick-the-junk-food-habit-/2010/2/5บทนี้ยกปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในห้างขนาดใหญ่และบริษัทดนตรีด้วย เป็นคล้ายๆกัน ก็เลยยืนยันได้ว่านี่คือ พฤติกรรมมนุษย์ ครับ และการเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว ก็บังเอิญเหมือนกันเลยคือ ทำให้มันเหมือนๆ คล้ายๆกับของเดิม คือต้องดัดแปลงให้มันอยู่ในรูปแบบที่ผู้บริโภคคุ้นเคย
เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงการพัฒนาองค์กรที่ผมทำอยู่ ผมใช้แนวทาง Appreciative Inquiry เป็นหลัก นั่นคือการตั้งคำถามเชิงบวก เพื่อค้นหาเรื่องดีๆ แล้วขยายผล ช่วยขยายผลนี่แหละครับ เราเรียกว่า Destiny (เดสตินี่) หนึ่งในกระบวนการทำ Destiny คือ ก่อนทำต้องตั้งคำถามว่า จะปรับเปลี่ยนอย่างไร
หลายโครงการที่ผมทำแล้วประสบความสำเร็จ คือคนทำเห็นความสำคัญของการตอบคำถามเรื่องนี้ครับ คือจะปรับเปลี่ยนอย่างไร หลายครั้ง หลายโครงการที่มันแต่ทำเรื่องอื่นๆ จนเหนื่อยที่จะตอบคำถามเรื่องนี้ จะปรับเปลี่ยนอย่างไร มีขึ้นตอนง่ายๆ คือ ถามตัวเองว่า ครั้งที่ทำอะไรแล้วเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่นในองค์กรนั้น เกิดอะไรขึ้น
มีรายหนึ่งพูดอย่างนี้ครับ ... ขอให้ผมทำอะไรเป็นตัวเลขมีงบประมาณประกอบเถอะ พ่อจะให้ทำ แล้วงานนี้คิดยัง ยังครับ@$$$%% ที่สุดก็เลยกลับไปทำงบประมาณ คุณพ่อก็ยอมให้เดินหน้าได้
อีกรายพูดอย่างนี้ครับ ที่นี่วิศวะคุมครับอาจารย์ ทั้งโรงงานเลย ต้องอะไรที่เป็นตัวเลข บ้าตัวเลขมากๆ ว่าแล้วเราก็มาวางแผนกัน .. เราผูกตัวเลข ผูกความเป็นไปได้ ไปกับโครงการ Appreciative inquiry..ที่สุด พอโรงงานเห็นตัวเลข ก็ยกระดับจากโครงการที่ทำกัน 19 คน เลยให้ทำทั้งโรงงาน 300 คน
ผมย้อนหลังไปในหลายโครงการ เห็นชัดมาก โครงการของเราที่ประสบความสำเร็จมากๆ เป็นโครงการที่เรามักตั้งคำถามเรื่องนี้อย่างจริงจัง คุณจะเห็นกรณีศึกษาสองเรื่องเบื้องต้น ลูกศิษย์ผมค้นพบ ตัวเชื่อม ครับ ตัวเชื่อมที่ทำให้เขาสามารถเสนอสิ่งใหม่ได้ ในรูปแบบที่มีอำนาจรู้สึกว่า มันไม่แปลกแยก เป็นอะไรที่คุ้นเคย เลยอนุญาตให้ทำ ให้เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ
Cr:
http://www.greatmealsforachange.ca/project-materials.php "สรุปแล้ว พฤติกรรมคน คือนิสัยของคนนั่นเอง อยากเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องเปลี่ยนนิสัย ซึ่งจะเปลี่ยนได้ ต้องดัดแปลงนิสัยใหม่ ให้ดูคุ้นเคยครับ ด้วยวิธีอะไร ด้วยการตั้งคำถามว่า ในองค์กรของเราตอนที่เคยทำอะไรแล้วราบรื่น มันเกิดอะไรขึ้น เมื่อได้คำตอบก็เอามาผสมผสานกับสิ่งใหม่ที่คุณกำลังจะนำเข้าไป มันจะราบรื่นขึ้นครับ แล้วจะเปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนพฤติกรรมคนได้จริงครับ"
วันนี้พอเท่านั้น เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณากันดูนะครับ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร.ภิญโญที่มา:
http://www.gotoknow.org/posts/532996