การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียงมีอยู่ 3 วิธี คือ การต่อลำโพงแบบ
อิมพีแดนซ์ต่ำ (Low Impedance Feed) การต่อลำโพงแบบอิมพีแดนซ์สูง (High
Impedance Feed) และการต่อลำโพงแบบแรงดันคงที่ (Constant Voltage Sound
Distribution)
การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียงแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ การต่อลำโพง
ลักษณะนี้นับว่าง่าย ที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นการต่อแบบอนุกรม ต่อแบบขนานและต่อแบบ
ผสมก็ตาม ซึ่งค่าอิมพีแดนซ์รวมจะต้องมีค่าเท่ากับเอาท์พุท (Out Put) ของเครื่องขยาย
เช่น 4, 8 และ 16 แต่วิธีการต่อลำโพงแบบอิมพีแดนซ์ต่ำนี้มีข้อจำกัดในเรื่องความยาว
ของสายที่ใช้ต่อลำโพง เพราะจะเกิดกำลังสูญเสียไปในสายเพราะสายยิ่งยาวความต้านทาน
ภายในสายยิ่งมีมากขึ้น การต่อลำโพงแบบอิมพีแดนซ์ต่ำจึงไม่ควรที่จะใช้สายลำโพงยาว
เกิน 50 เมตร
การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียงแบบอิมพีแดนซ์สูง เนื่องจากการต่อ
ลำโพงกับเครื่องขยายเสียงแบบอิมพีแดนซ์ต่ำมีขีดจำกัดในเรื่องระยะห่างระหว่างลำโพง
กับเครื่องขยายเสียง ถ้าจะให้ระยะห่างระหว่างลำโพงกับเครื่องขยายเสียงมากขึ้น จะต้อง
ใช้ภาคเอาท์พุทของเครื่องขยายเสียงที่มีอิมพีแดนซ์สูงประมาณ 100-600 ซึ่งของเครื่อง
ขยายเสียงมักจะแท๊ปค่าเป็น 250 และ 500 การจะต่อลำโพงโดยตรงจึงทำไม่ได้ ซึ่งจะต้อง
ใช้แมทซิ่งทรานสฟอร์เมอร์ โดยให้ทางด้านไพมารี่ มีจำนวนอิมพีแดนซ์เท่ากับเอาท์พุทของ
เครื่อง และทางด้าน เซกันดารี่ มีจำนวนอิมพีแดนซ์เท่ากับลำโพง
ลำโพงที่มีกำลังวัตต์เท่ากันต่อแบบขนาน
ลำโพงที่มีกำลังเท่ากันต่อแบบขนานและอันดับ การต่อแบบนี้
มักใช้ในกรณีที่ขาดแคลนอุปกรณ์บางอย่าง
ลำโพงที่มีกำลังต่างกันต่อแบบขนานและอันดับ การนำลำโพง
ที่มีค่ากำลังต่างกันมาต่อเข้ากับวงจรที่มีเอาท์พุทอิมพีแดนซ์สูง จะต้องใช้อิมพีแดนซ์
ของแมทซิ่งทรานสฟอร์เมอร์ที่มีค่าทางด้านไพมารี่ต่างกันด้วย
ในกรณีที่ขาดแคลนอุปกรณ์ เช่น แมทซิ่งทรานสฟอร์เมอร์มีไม่ครบ และ
จำเป็นจะต้องใช้งานสามารถทำได้โดยใช้ตัวต้านทาน (Resistor) เข้าช่วย แต่เป็นการ
สิ้นเปลืองกำลังโดยใช่เหตุ ถ้าไม่จำเป็นจริงไม่ควรจะนำมาใช้ ตัวต้านทานใช้ค่าเท่ากับ
อิมพีแดนซ์ของตัวแมทซิ่งทรานฟอร์เมอร์ที่มันแทน
จากการต่อลำโพงโดยใช้การต่อแบบอิมพีแดนซ์สูง จะทำให้สามารถต่อ
ลำโพงได้ในระยะไกลๆ จากเครื่องได้มาก แต่อย่างไรก็ตามถ้าระยะห่างมากๆ ย่อม
เกิดการสูญเสียในสายมาขึ้นแน่นอน วิธีแก้ควรใช้สายขนาดโตขึ้นกว่าเดิม
การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียงแบบแรงดันคงที่ จากการต่อลำโพง
ทั้งชนิดอิมพีแดนซ์ต่ำและสูง จะพบปัญหาอยู่ประการหนึ่งคือ การที่จะจัดให้จำนวนลำโพง
หรือแมทชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ให้มีค่ามพีแดนซ์เท่ากับเอาท์พุทของเครื่องขยายเสียง บาง
ครั้งทำได้ยาก เนื่องจากลำโพงไม่พอ หรือจำนวนแมทชิ่งทรานสฟอร์เมอร์มีไม่พอ เครื่อง
ขยายบางแบบได้ผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าวนี้โดยกำหนดขั้วเอาท์พุทเป็นแรงดัน
คงที่ของเครื่องขยายที่จะขับออกมา และจะมีค่าคงที่ (หรือเกือบคงที่) ตลอดเวลา
ถ้าต้องการปรับระดับความดังของลำโพง เพื่อความเหมาะสมในการฟัง
โดยการปรับค่าของอิมพีแดนซ์ของขดไพมารี่ของแมทชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ คือถ้ามี
อิมพีแดนซ์เพิ่มขึ้นจะทำให้กำลังออกลดน้อยลง ดังนั้นจึงใช้แมทชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
ที่มีอิมพีแดนซ์เลือกได้หลายขั้ว
นอกจากจะใช้วิธีเปลี่ยนอิมพีแดนซ์ทางด้านไพมารี่ เพื่อปรับระดับความดัง
แล้ว ยังสามารถใช้วิธีเปลี่ยนอิมพีแดนซ์ทางด้านเซคันดารี่ของแมทชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
ซึ่งวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องให้อิมพีแดนซ์เท่ากับของลำโพง
การปรับความดังโดยปรับทางขดเซคันดารี่นี้ จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับ
การปรับทางขดไพมารี่ นั่นคือ ถ้าปรับทางขดเซคันดารี่ให้มีค่าอิมพีแดนซ์สูงขึ้น จะทำให้
ระดับความดังสูงขึ้นด้วย
หรืออาจใช้ตัวต้านทาน (Resistor) แบบปรับค่าได้ซึ่งเรียกว่า Variable
Resistor นำมาต่อแบบตัวที (T-pad)
ไม่ค่อยมีความรู้เท่ารัยครับรู้เท่าที่รู้นะครับจากประสบการณ์ที่เคยพบมาน้อยๆครับผิดต้องขออภัยด้วยครับ