เรื่องมันเกิดจากเหตุการณ์ และความเป็นมาตอนแรก ที่ครั้งหนึ่งมีคนเอาดอก 4 โอมห์มาใส่ในเครื่องเสียงรถยนต์ ผลที่ได้คือเสียงดังแรง แต่ไม่กินวัตต์ จนกลายเป็นมาตรฐานของดอกลำโพงรถยนต์ในปัจจุบัน แต่มีข้อจำกัด คือการที่ต่อดอกลำโพงเพิ่มไม่ได้ เพราะความต้านทานจะต่ำลงเลยแต่ทำให้เกิดการเสียหายกับเพาว์เวอร์แอมป์ หรือเครื่องเสียงรถยนต์ได้
แต่ในปัจจุบัน ในตลาดของเครื่องเสียงรถยนต์ ที่มีการแข่งขันของสื่อโฆษณามากมาย ว่ากันไป ดอกลำโพงเสียงกลางตัวแข่งต่อได้หลายลูก แต่ใช้เพาว์เวอร์ 2 ch ตัวเีดียวจะขับได้ถึง 4 ดอกแบบสบาย ๆ ตามที่โฆษณา ซึ่งทุกวันนี้เพาว์เวอร์ของเครื่องเสียงรถยนต์ มีกำลังวัตต์ที่สูงมาก จนใช้กับลำโพง 8 โอมห์ ได้แบบสบายมาตั้งนานแล้ว แอมป์ตัวเดียวสามารถต่อ (ขับ) ได้ 4 ดอก แบบจับใจ ตามที่โฆษณาในสื่อต่าง ๆ ดอกลำโพงที่ออกมาสู่ตลาดเครื่องเสียงรถยนต์ ในระดับโคโยตี้ เดือนละ 2 ยี่ห้อ จนคนซื้อหาเงินอุดหนุนแทบไม่ทัน ท่านเคยลองเอามิเตอร์ไปวัดค่าความต้านทานแล้วหรือยัง ส่วนใหญ่ค่าความต้านทาน ของดอกลำโพง 4 โอมห์แน่นนอน ที่แน่ ๆ ทวีตเตอร์แบบจานส่วนใหญ่ ท่านเคยลองแลวหรือยัง ว่าดอกลำโพงของเสียงกลาง(ตัวแข่ง)ของรถยนต์ ส่วนใหญ่ คือลำโพง 8 โอมห์ หรือลำโพงบ้านของเราดี ๆ นี่เองครับ
ความต้านทานที่ดอกลำโพงไม่ใช่ 4 โอมห์นะครับ พูดถึงเรื่องค่าความต้านทาน คำว่า ค่าความต้านทานที่ลำโพง 8 โอหม์ เมื่อเอามิเตอร์วัดที่ขั้วลำโพงแล้ว จะเห็นได้ว่าไม่ได้ 8 โอหม์ ส่วนใหญ่อาจจะมีค่า 6 โอมห์กว่า ๆ ถ้าดอกลำพง 4 โอมห์ ก็จะมีค่าความต้านทานน้อยกว่านี้ตามลำดับ เมื่อเอามิเตอร์สองข้างมาวัดค่าความต้านทานค้างไว้ บอกยังไงดี เอาแบบเข้าใจง่ายนะครับ ค่าความต้านทานของดอกลำโพง ค่าเป็นอิมพีแดนซ์ คือความต้านทานต่อไฟฟ้าสลับ impdance คำว่า แดนซ์ ตัวหลังแปลว่าเต้นไม่นิ่ง ไม่แน่นอน ค่าความต้านทานจริงสามาถคำนวณได้ แต่หลายคนจะเบื่อ ผมจะยกตัวอย่างง่าย ๆ ครับ เมื่อเอามิเตอร์วัดค้างไว้ที่ขั้วลำโพง บวกและลบแล้ว ลองขยับหน้าลำโพง เข้าและออก โดยใช้มือดันกระดาษกรวยของดอกลำโพง เข้าและออกขึ้นลง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของความต้านทานแบบคร่าว ๆ ดอกลำโพง 8 โอหมห์ บางที่อาจจะสวิงขึ้นและลง เป็น 8,6,5,4 โอมห์ ส่วนดอกลำโพง 4 โอมห์ อาจจะสวิงขึ้นลง 2,3,4 โอมห์ (หนักไหมครับ)บางทีอาจจะเหลือแค่ 2 โอมห์ ส่วนดอกลำโพง 4 โอมห์ ถ้ามีสองดอกขนานกันอาจจะเหลือแค่ 2โอมห์ได้ บางทีสวิงเหลือ 0.5 หรือ1 หรือ 2 ตามลำดับ อันนี้การยกตัวอย่างอย่างเข้าใจง่าย ๆ นะครับ